วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

หลักการจัดการเบื้องต้น


แนวคิดพื้นฐานด้านการจัดการ


การจัดการ หมายถึง สิ่งที่เราจะต้องมีการวางแผน มีการจัดระบบที่ชัดเจน เป็นการดำเนินการหรือกระบวนการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพื่อที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ร่วมกัน โดยคำนึงถึงการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

มีองค์ประกอบ ดังนี้
1. เป้าหมายที่ชัดเจน (Goal)
2. ทรัพยากรในการบริหารที่มีจำกัด (Management Resources)
3. การประสานงานระหว่างกัน (Co-ordinate)
4. การแบ่งงานกันทำ (Divison)

ทรัพยากรในการจัดการ (7M)
- Man (คน)
- Money (เงิน)
- Materials/Media (วัสดุ)
- Methods (วิธีการ)
- Market (การตลาด/ประชาสัมพันธ์)
- Machine (เครื่องจักร/อุปกรณ์)
- Moral (ขวัญกำลังใจ)

ความแตกต่างระหว่างการบริหารกับการจัดการ

การบริหาร(Administration)
- เป็นกระบวนการดำเนินการระดับการกำหนดนโยบาย
- กระบวนการบริหารใดๆขององค์กรที่ไม่ต้องการผลกำไรหรือผลประโยชน์
- ผู้บริหารพยายามบริหารงานให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์การ
- ผลสำเร็จขององค์การมิได้คำนึงถึงผลตอบแทนที่สมาชิกจะได้รับ
- การบริหาร มักจะใช้กับองค์การของภาครัฐหรือหน่วยงานสาธารณะที่ไม่หวังผลกำไร

การจัดการ
- เป็นกระบวนการบริหารใดๆขององค์การที่ต้องการกำไร โดยผู้จัดการจะต้องทำให้องค์การบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้
- เพื่อให้องค์การอยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่ดำรงอยู่ ซึ่งอยู่ในระบบการแข่งขัน
- การจัดการ จึงมักใช้ในองค์การธุรกิจหรือองค์การที่มุ่งผลกำไร

สรุป
การจัดการ - นำทรัพยากรมาใช้ในการบริหาร นำระบบสารสนเทศมาสู่กรกะบวนการบริหารเพื่อให้ได้ผลผลิต
ผู้บริหาร - เป็นผู้ที่ใช้บุคคลอื่นในการทำงาน ใช้ทรัพยากรในองค์การนั้นให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยก่อให้เกิดการร่วมแรงร่วมใจ

หลักการจัดการองค์การสมัยใหม่
หน่วยงานที่มีการทำงานอย่างเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นได้ โดยไม่ยึดหลักการแบบแผน

ตัวอย่างที่ 1
5 S Model

1. Small = เป็นองค์กรขนาดเล็กแต่มีคุณภาพมากขึ้น
S = Shamrock Organization หมายถึง องค์การจะมีส่วนงานหลัก ส่วนงานรับเหมาเเละส่วนงานชั่วคราว
M = Merit System หมายถึง ระบบคุณธรรมที่ยึดคนดีมีความรู้ความสามารถ
A = Architect หมายถึง สถาปนิกองค์การที่ต้องจัดโครงสร้างและออกแบบองค์การให้ผู้รับบริการพึงพอใจ
L = Little Area หมายถึง ขอบเขตพื้นที่เล็กลง เพื่อให้สามารถบริการลูกค้าโดยเเบ่งเขตพื้นที่จะถูกนำไปใช้มากขึ้น
L = Linking Pin Concept หมายถึงเเนวคิดหมุดเชื่อมโยงที่มีการผนึกกำลังร่วมกันตั้งเเต่พนักงานทุกคน ทุกเเผนก

2. Smart = ดูดี ดูเท่ ดูน่าเชื่อถือ องค์การสมัยใหม่มุ่งสู่ความเฉลียวฉลาด มีความแปลกใหม่ มีนวัตกรร
S = Shared Vision หมายถึง วิสัยทัศน์ร่วมสร้างจินตนาการ พยากรณ์เเละฉายภาพองค์การในอนาคตร่วมกัน
M = Mental Model หมายถึง ตัวเเบบความคิดที่สะท้อนความคิดเเบบวิทยาศาสตร์
A = Ability หมายถึง ความสามารถของผู้บริหารและพนักงานต้องอยู่ในระดับมาตรฐาน
R = Readiness หมายถึง ความพร้อมด้านการวางเเผน การประกันคุณภาพ เเละระบบมาตรฐานไอเอสโอ
T = Technology หมายถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ก่อให้เกิดการทำงานเเละการบริการที่รวดเร็วมากขึ้น

3. Smile = ยิ้มแย้มแจ่มใส เปี่ยมด้วยน้ำใจ องค์การที่มีความสุข
S = Sense of belonging หมายถึง ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง หรือเป็นเจ้าของหรือหุ้นส่วนขององค์การ
M = Music หมายถึง ดนตรีในหัวใจ องค์การที่มีสุนทรียภาพมีเสียงเพลง มีความฉลาดทางอารมณ์
I = Impression หมายถึง การให้บริการที่สร้างความประทับใจให้เเก่ลูกค้า
L = Loveliness หมายถึง องค์การที่น่ารักสำหรับทุก ๆ คน ทั้งเรา เพื่อนร่วมงานเเละลูกค้า
E = Enjoy หมายถึง สนุก ทำงานด้วยความสนุกสนานท้าทายเเละอยากจะทำ

4. Smooth = ไม่พูดเรื่องการขัดแย้ง ทำงานเป็นทีมและให้ความร่วมมือ
S = Synergism หมายถึง ระบบการผนึกกำลังร่วมมือของทุกฝ่าย
M = Motivation หมายถึง การจูงใจ ให้ค่าตอบเเทนที่เป็นธรรม มีระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน
เเละให้ค่าตอบเเทนเป็นชิ้นงาน
O = Optimistic หมายถึง การมองโลกในเเง่ดีเป็นการเเปลงวิกฤติให้เป็นโอกาส ส่งเสริมให้คนริเริ่มสร้างสรรค์มากขึ้น
O = Open – Minded หมายถึง การเปิดใจที่องค์การต้องมีความจริงใจซึ่งกันเเละกัน
T = Teamwork หมายถึง การทำงานเป็นทีม งานเเละเทคนิคการทำงานที่สอดคล้องไม่เป็นทางการให้คำนึงถึงผลงาน

5. Simplify = ทำเรื่องสลับซับซ้อนให้เป็นเรื่องง่าย
S = Speed หมายถึง การทำงานให้รวดเร็ว คิดก่อนทำ คิดล่วงหน้า เเละกระทำล่วงหน้า
I = Informal หมายถึง การไม่เป็นทางการ สามารถให้บริการตลอดเวลาไม่จำกัดเฉพาะเวลาราชการ
M = Media หมายถึง การใช้สื่อเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ให้งานประสบความสำเร็จเเละมีประสิทธิภาพ
P = Policy หมายถึง นโยบาย โดยกำหนดนโยบายสู่การบริหารคุณภาพ ทำงานได้มาตรฐาน
L = Life – Long Learning หมายถึง พนักงาน บุคคลเเละผู้บริหารมีการเรียนรู้ตลอด มีการศึกษาอบรมเพิ่มเติม
I = Indicator หมายถึง องค์การต้องสร้างมาตรวัดเพื่อเทียบเเข่งกับองค์การที่ประสบความสำเร็จเเละปรับปรุงสู่มาตรฐาน
F = Function หมายถึง ทำเกินหน้าที่ โดยให้ความช่วยเหลือองค์การเมื่อว่างงาน โดยไม่ยึดฝ่ายหรือเเผนกเป็นสำคัญ
Y = Youthfulness หมายถึง องค์การต้องปรับให้มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน เเละควรปรับวิธีการทำงานให้เหมาะสม


ตัวอย่างที่ 2
องค์การแบบสิ่งมีชีวิต
ให้ความสำคัญกับการปรับตัว มุ่งเน้นการทำงานอย่างมีความสุข และให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์เป็นแกนหลักในการทำงาน

ตัวอย่างที่ 3
องค์การคุณภาาพ
เป็นองค์การที่มี 4 มิติ คือ
1.มาตรฐาน (standard)
2.ผลงาน (performance)
3.ประสิทธิภาพ (efficiency)
4.ความพึงพอใจ (satisfaction)

ขอบข่ายงานเทคโนโลยีการศึกษา

ขอบข่ายงานเทคโนโลยีการศึกษา

แนวคิดของสมาคมสื่อสารและเทคโนโลยีการศึกษาแห่งสหรัฐอเมริกา (Association for Educational Communications and Technology: AECT, 1994)

ได้แบ่งขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษาตาม Seels and Richey ได้ศึกษาไว้ ประกอบด้วย 5 ขอบข่ายใหญ่ และแต่ละขอบข่ายแยกเป็น 4 ขอบข่ายย่อย รวมเป็นขอบข่ายย่อยทั้งหมด 20 ขอบข่าย ดังนี้


1.1 การออกแบบ (design) คือ กระบวนการในการกำหนดสภาพของการเรียนรู้
1.1.1 การออกแบบระบบการสอน (instructional systems design) เป็นวิธีการจัดการที่รวมขั้นตอนของการสอนประกอบด้วย การวิเคราะห์ (analysis) คือ กระบวนการที่กำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับอะไร เรียนในเนื้อหาอะไร การออกแบบ (design) กระบวนการที่จะต้องระบุว่าให้ผู้เรียนเรียนอย่างไร การพัฒนา (development) คือ กระบวนการสร้างผลิตสื่อวัสดุการสอน การนำไปใช้ (implementation) คือ การใช้วัสดุและยุทธศาสตร์ต่างๆ ในการสอน และ การประเมิน (evaluation) คือ กระบวนการในการประเมินการสอน
1.1.2 ออกแบบสาร (message design) เป็นการวางแผน เปลี่ยนแปลงสารเน้นทฤษฎีการเรียนที่ประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานของความสนใจ การรับรู้ ความจำ การออกแบบสารมีจุดประสงค์เพื่อการสื่อความหมายกับผู้เรียน
1.1.3 กลยุทธ์การสอน (instructional strategies) เน้นที่การเลือก ลำดับเหตุการณ์ และกิจกรรมในบทเรียน ในทางปฏิบัติกลยุทธ์การสอนมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การเรียน ผลของปฏิสัมพันธ์นี้สามารถอธิบายได้โดยโมเดลการสอน การเลือกยุทธศาสตร์การสอนและโมเดลการสอนต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเรียน รวมถึงลักษณะผู้เรียน ธรรมชาติของเนื้อหาวิชา และจุดประสงค์ของผู้เรียน

1.1.4 ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics) คือลักษณะและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนที่จะมีผลต่อกระบวนการเรียน การสอน การเลือก และการใช้ยุทธศาสตร์การสอน


1.2 การพัฒนา (development) เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนการออกแบบ ประกอบด้วย
1.2.1 เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print technologies) เป็นการผลิต หรือส่งสาร สื่อด้านวัสดุ เช่น หนังสือ โสตทัศนวัสดุพื้นฐานประเภทภาพนิ่ง ภาพถ่าย รวมถึงสื่อข้อความ กราฟิก วัสดุภาพสิ่งพิมพ์ ทัศนวัสดุ สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนา การใช้สื่อวัสดุการสอนอื่นๆ
1.2.2 เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสาร โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำเสนอสารต่างๆ ด้วยเสียง และภาพ โสตทัศนูปกรณ์จะช่วยแสดงสิ่งที่เป็นธรรมชาติจริง ความคิดที่เป็นนามธรรม เพื่อผู้สอนนำไปใช้ให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
1.2.3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer – based technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสารโดยการใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ เพื่อรับและส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์จัดการสอน โทรคมนาคม การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ การเข้าถึงและใช้แหล่งข้อมูลในเครือข่าย
1.2.4 เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายข้อมูลกับสื่อหลาย ๆ รูปแบบภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์

1.3 การใช้ (utilization) เป็นการใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน

ประกอบด้วย
1.3.1 การใช้สื่อ (media utilization) เป็นระบบของการใช้สื่อ แหล่งทรัพยากรเพื่อ การเรียน โดยใช้กระบวนการตามที่ผ่านการออกแบบการสอน
1.3.2การแพร่กระจายนวัตกรรม (diffusion of innovations) เป็นกระบวนการสื่อความหมาย รวมถึงการวางยุทธศาสตร์ หรือจุดประสงค์ให้เกิดการยอมรับนวัตกรรม
1.3.3 วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ (implementation and institutionalization) เป็นการใช้สื่อการสอนหรือยุทธศาสตร์ในสถานการณ์จริงอย่างต่อเนื่องและใช้นวัตกรรมการศึกษาเป็นประจำในองค์การ
1.3.4 นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ (policies and regulations)

เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคมที่ส่งผลต่อการแพร่กระจาย และการใช้เทคโนโลยีการศึกษา


1.4 การจัดการ (management) เป็นการควบคุมกระบวนการทางเทคโนโลยีการศึกษา ตลอดจนการวางแผน การจัดการ การประสานงาน และการให้คำแนะนำ ประกอบด้วย
1.4.1 การจัดการโครงการ (project management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การออกแบบ และพัฒนาโครงการสอน
1.4.2 การจัดการแหล่งทรัพยากร (resource management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมแหล่งทรัพยากร ที่ช่วยระบบและการบริการ
1.4.3 การจัดการระบบส่งถ่าย (delivery system management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมวิธีการซึ่งแพร่กระจายสื่อการสอนในองค์การ รวมถึงสื่อ และวิธีการใช้ที่จะนำเสนอสารไปยังผู้เรียน

1.4.4 การจัดการสารสนเทศ (information management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การเก็บ การส่งถ่าย หรือกระบวนการของข้อมูลสารเพื่อสนับสนุนแหล่งทรัพยากรการเรียน


1.5 การประเมิน (evaluation) กระบวนการหาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน

ประกอบด้วย
1.5.1 การวิเคราะห์ปัญหา (problem analysis) เป็นการทำให้ปัญหาสิ้นสุด โดยการใช้ข้อมูลต่างๆ และวิธีการที่จะช่วยตัดสินใจ
1.5.2 เกณฑ์การประเมิน (criterion – reference measurement) เทคนิคการใช้เกณฑ์เพื่อการประเมินการสอน หรือประเมินโครงการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
1.5.3 การประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมจากการประเมินความก้าวหน้าเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาต่อไป
1.5.4 การประเมินผลสรุป (summative evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมที่จะตัดสินใจกับการดำเนินงานโปรแกรม หรือโครงการต่อไป